วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้


1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ข้อสอบ
(1) สถาปัตยกรรมระบบเครือข่าย (Topology)แบบใดนิยมใช้มากที่สุด
ก. Bus Topology
ข. Ring Topology
ค. Star Topology
ง. Hybridge Topology
ง.เพราะมีราคาแพงจึงไม่ค่อยมีผู้นิยมใช้มากนัก
(2) ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของ Bus Topology
ก. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก
ข. สามารถขยายระบบได้ง่าย
ค. เสียค่าใช้จ่ายมาก
ง. เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ค. เพราะ ข้อดีของ Bus Topology ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก
(3) เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก แบ็คโบน (Backbone) คือรูปแบบใด
ก. MESH
ข. RING
ค. STAR
ง. BUS
ง. เพราะ คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node)
(4) ทิศทางในการส่งผ่านข้อมูลแบบ Ring Topology เป็นแบบใด
ก. ส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข. ส่งข้อมูลแบบแยกย่อยออกไป
ค. ส่งข้อมูลทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง
ง. ส่งข้อมูลไปกลับ ได้ทุกเครื่องตอบ
ค. เพราะ การส่งผ่านข้อมูลแบบ Ring Topology จะไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง
(5) Topology แบบใด สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ก. BUS
ข. MESH
ค. RING
ง. STARตอบ
ข. เพราะ รูปแบบ Mesh ได้แก่ แต่ละ Link รับผิดชอบเพียงอุปกรณ์ 2 ตัว จึงไม่เกิดปัญหา
(6) Topology แบบวงแหวนมีชื่อเรียนเป็นภาษาอันกฤษว่าอย่างไร
ก.king
ข.ring
ค.server ring
ง.server king
ข.ring
(7) Topology แบบวงแหวนมีทิศทางเดียวกัน โดยมีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือยข่ายแบบใด
ก.star
ข.Hybrid
ค.Bus
ง.Mesh
ง.busแหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htmhttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7098f797c7c0afea

Etternet ( IEEE802.3)
IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที

ไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณเช่น• 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร• 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร• 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตรรูปที่ข้างล่าง แสดงถึงลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ รหัสขึ้นต้นด้วย 10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาที คำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลขหมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษรจะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ คือ

Fiber opticsส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 100BaseTX และ 100BaseFX สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น















สรุป

ในปัจจุบันมาตราฐานGigabit Ethernet (IEEE802.3z)ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งหมายความว่าอาจจะมีการปรับปรุงแก้ไขในรายละเอียดของค่าพารามิเตอร์ต่างได้อีก จึงนับเป็นการเร็วเกินไปที่จะจัดหาอุปกรณ์GigabitEthernet ในท้องตลาดมาใช้ทั้งนี้เนื่องด้วยเหตุผลทางด้านความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ในแบบเดียวกันของต่างผู้ผลิตซึ่'อาจwbr>wbr>r>wb>r>br>wbr>b<br>wbrbr>wbr และ Gigabit Ethernet ก็ไม่สารมารถจะใช้ทดแทนเทคโนโลยี ATM ได้ ดังนั้นการนำ Gigabit Ethernet มาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดก็คือการนำมาเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการรับส่งข้อมูลของเครือข่าย Ethernet ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นดังที่กล่าวมาแล้ว
10 mbps
ความเร็ว 100 Mbps ตรงมุมขวาล่างของคอมเราเป้น ความเร็วของ สาย Eternet ที่ทำการต่อรองกับ Lan Card ของท่านว่าจะใช้ ในแบบ 100 Mbps Full Duplex หรือจะใช้แบบ 10 Mbps Half Duplex ครับ ซึ่งมันจะวิ่งที่ ความเร็ว 10 หรือ100 mbps ขึ้นอยู่กับ lan Card และ interface ของ switch ของท่านครับ สังเกต ตรง 10/100 นั้นแหละครับ คือรองรับทั้ง 10 และ 100 mbps อุปกรณ์ Router ของ ToT ที่แถมมาให้นั้น มันเอาความสามารถของ Modem Router ไปรวมกับความสามารถของ Switch หรือ Hub ครับ พอดีผมไมได้ใช้ Router ของ ToT ที่มันแถมมาให่งะ เลยไม่รู้ ครับส่วน เหตุใดถึงจะได้ 100 หรือ 10 ขึ้นอยู่กับ อุปกรณ์ครับ ถ้าใช้ hub จะเป็น 10 Mbps และสื่อสารแบบ Half Duplex เพราะว่ามันใช้ ช่องทางเดียวกันทุก port ทำให้อาจจะเกิดการชนกนของข้อมูลได้ จึงมีการใช้ อัลกอรึทึม CSMA/CD เพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูลครับ และสาเหตุที่มันส่งแบบ Half Duplux ก็เพราะเจ้า CSMA/CD นั้นแหละ ถ้าจะให้อธิบายถึงสาเหตุจริงๆนั้นยาวมากๆๆๆเลย ว่าเหตุใดที่ใช้ csma/cd แล้วมันถึงต้องสื่อสารแบบ half duplexส่วน Switch ทำไมมันส่งข้อมูลแบบ 100 Mbps ก็เพราะ1. ความทันสมัยของตัว เทคโนโลยีใน Switch2. มันส่งข้อมูลแบบของใครของมันฉะนั้น ข้อมูลจะไม่มีการชนกัน เว้นแต่ buffer และ Controller ของ Switch จะประมวลผลการรับส่งข้อมูลไม่ไหวเท่านั้นเอง เกินความสามารถของ hardware หรือ ข้อมูลมีจำนวนมากๆเกิน banwidth ของ สาย และ interface เท่านั้น3. เมื่อมันไม่มีการชนกัน ฉะนั้น อัลกอริทึม CSMA/CD จึงไม่จำเป็นต้องใช้ มันเลยทำการ disable แกทำให้สามารถสื่อสารแบบ Full Duplex และ ที่ความเร็ว 100 Mbps ได้ครับ
100 mbps ( cigabit Ehernet )

ไม่มีความคิดเห็น: